ท้าวปางคำ ซึ่งต้องการแต่งวรรณกรรมสินไซสให้เป็นชาดก มีแก่นธรรมะคือ อภิธรรมชั้นสูง คือแนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐานไปสู่การตัดกิเลสจนพบอริยสัจสี่อันเป็นโลกุตรธรรม ผสมผสานขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม คำสอนแก่ทั้งผู้นำและประชาชนทั่วไป มีเรื่องย่อคือ ยักษ์ลักพานางสุมุนฑา (สุมณฑา) น้องพระยากุศราช (กุ สะหลาด) ไปแล้วให้หลานชื่อ ศรีโห สังข์ทอง และสินชัยไปตามกลับคืน มีการต่อสู้กับภัยต่างๆ ในป่าและต่อสู้กับยักษ์จนชนะลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม ลักษณะคำประพันธ์ คือ กลอนเทพาวะ และได้แปรรูปวรรณกรรมออกมาด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การร้องหมอลำ เทศน์แหล่ หนังปราโมทัย ภาพจิตรกรรมและอื่นๆ โดยเฉพาะการทำฮูปแต้มลักษณะเด่นเชิงนามธรรม นำเอาแก่นธรรมะโดยเคลือบชั้นนอกไว้ด้วยเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน ผจญภัย รัก-โลภ-โกรธ-หลง-ชิงรักหักสวาท มีเล่ห์หลี่ยมชิงไหวชิงพริบและแสดงถึงความกล้าหาญ รอบคอบ ปัญญาหลักแหลม